วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กล่าวหาว่าผู้อื่นปาราชิก แต่ตัวเองทำผิดอาบัติไม่รู้ตัวหรือ

ข่าวดังในช่วงนี้ ถ้าไม่เอ่ยถึงวัดพระธรรมกาย ก็คงจะแปลกดี ล่าสุดหนังสือพิมพ์ฉบับหนึง ลงข่าวพาดหัว ว่าเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายต้องอาบัติปาราชิก โดยอาศัย เกี่ยวกับคำให้สัมภาษณ์ของพุทธอิสระ และเจ้าอาวาสวัดธรรมกายว่า ได้ทำผิดอาบัติคอบราชิก พร้อมมีหลักฐานพยาน ผู้ร่วมกระทำผิดรอให้เหตุการณ์ รอให้ปากคำ มันก็น่าสงสัยนะครับ ท่านเป็นพระจริงหรือไม่ ในพระวินัยบอกไว้ว่า การบอกอาบัติชั่วหยาบของพี่สุขด้วยกันกับอนุสัมพันธ์ หรือคนภายนอก จะกระทำไม่ได้ ภิกษุผู้ใดกระทำ โรคนั้นต้องอาบัติ ท่านอิสระรู้ตัวหรือเปล่าไม่ว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย จะต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ การที่ท่านนำมาบอกกล่าวกับบุคคลภายนอก ตัวท่านเองต้องอาบัติด้วย คนที่ต้องอาบัติ ไปกล่าวหาคนที่ไม่ต้องอาบัติ อย่างนี้ถือว่าไม่ยุติธรรมไม่มีความโปร่งใสในการกล่าวหา อยากจะบอกว่า ก่อนว่าคนอื่น ไปดูตัวเองให้ดีก่อนจะดีไหมครับ แถมอีกนิดนึง หลักฐานที่ว่าผู้ร่วมกระทำผิดพร้อมให้ข้อมูล ไอ้พยานที่ว่ามันอยู่ที่ไหน เคยเห็นหน้ามาหรือเปล่า หรือเล็กๆคิดคิดแล้วเดาเอา อย่างนี้เรียกว่ากล่าวหาอย่างเลื่อนลอยไม่มีหลักฐานหยุดสักทีเถอะครับหยุดสร้างความแตกแยก ให้กับคณะสงฆ์และชาวพุทธมากไปกว่านี้ กลับไปดูตัวเองก่อนเถอะ

ตัวเองทำผิดแล้วยังไม่รู้ นีน่าไปกล่าวหาผู้อื่น หัดมียางอายซะบ้างนะครับ

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

รับของโจร ธรรมกายไม่เข้าข่าย ตอน 2



        จากตอนที่แล้วมีตัวอย่างฏีกามาเสนอ    ตอนนี้ขอเอาตัวอย่างอีก ฏีกามาเทียบเคียงครับ 



-                                     คำพิพากษาฎีกาที่ 1276/2530 การซื้อขายวิทยุติดรถยนต์ของกลาง ได้กระทำกันโดยเปิดเผย และจำเลยรับซื้อของกลางไว้ โดยไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีความผิด เพราะขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดฐานรับของโจร

                                     _______________________________________________


                                      วัดธรรมกายออกมาให้ข้อมูลว่าการรับถวายเงินทำบุญ  มีคนมาถวายกันครั้งละมากๆ   และกระทำกันในห้องประชุมใหญ่ซึ่งเป็นที่สาธารณะ  จัดได้ว่าเป็นการกระทำกันโดยเปิดเผย และรับ   
        โดยสุจริต ทั้งไม่รู้มาก่อนว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำผิดหรือไม่


                                   การที่ DSI กำลังชี้มูลความผิด เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย  ถ้าเทียบเคียงกรณีนี้ถือว่าขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดฐานรับของโจร

รับของโจร ธรรมกายไม่เข้าข่าย ตอน 1

 รับของโจร ธรรมกายไม่เข้าข่าย 



                       จากกระแสข่าวหนาหูว่า เจ้าอาวาสวัดธรรมกายถูกตั้งข้อหารับของโจร โดย DSI 
และสื่อต่างๆพยายามที่จะชี้นำมาโดยตลอด  ผมเลยต้องไปหาข้อมูลเอามาแชร์กันเป็นความรู้มาดูตัวกฎหมายกันก่อน


          


                 ________________________________________________________________________________

ประมวลกฎหมายอาญา

อาญา มาตรา ๓๕๗ รับของโจร
อาญา มาตรา ๓๕๗


            หมวด 6        ความผิดฐานรับของโจร

                 มาตรา 357      ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้า ความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน รับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา340 ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

       ------------------------------------------------------------------------------------------- 




              ทีนี้เรามดูกันครับว่ากรณีของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเข้าข่ายใหม?  
เรามาดูเทียบเคียงกับฏีกาที่ได้ตัดสินไปแล้วกันสักสองสาม ฎีกา



 ดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ผ่านมากัน 


-          เจตนา
-          คำพิพากษาฎีกาที่ 265/2507 ในความผิดฐานรับของโจรนั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นในขณะที่จำเลยได้รับทรัพย์นั้นไว้ โดยรู้อยู่ว่าเป็นของได้มาจากการกระทำผิด ไม่ใช่เป็นความผิดขณะที่ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่

             จากที่ลูกศิษย์ลูกหา และชาวธรรมกายออกมาให้ข้อมูลบอกว่า เจ้าอาวาสแค่อออกมารับถวายเงินทำบุญอย่างเดียวโดยไม่เคยเห็นแม้แต่เช็ค เมื่อรับถวายแล้วเจ้าหน้าที่การเงินก็เอาไปจัดการต่อทั้งหมด  อันนี้ถือว่าไม่รู้ที่มาของทรัพย์ว่ามาจากการกระทำผิดและได้มาอย่างไร  และในช่วงที่มีการถวายเช็คเป็นช่วงที่ สหกรณ์ฯไม่ได้มีปัญหาการเงินและยังมีรายงานการทำบัญชีใช้จ่ายที่ชัดเจน  แม้ปัจจุบันนายศุภชัย จะมีคดีความและต่อสู้อยู่ในศาล  แต่ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าผิด ดังนั้นเงินที่ถวายทำบุญ จึงยังไม่จัดอยู่ในของที่ได้มาจากการกระทำผิด 

  เมื่อนำกรณีมาเทียบเคียง  
   การที่ DSI กำลังจะชี้มูลความผิด เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย  
  จึงถือว่าไม่ผิด และไม่เข้าข่ายรับของโจร  

              ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------